ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การทำเป็นไม่สนใจคนที่มักจะทำให้เราหดหู่หรือทุกข์ใจนั้นอาจยากลำบาก ยิ่งถ้าคนคนนั้นเป็นบุคคลที่เราต้องพบปะและพูดคุยทุกวันที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือที่บ้าน ก็ยิ่งยากที่จะทำเป็นไม่สนใจคำพูดและการกระทำของเขา บทความนี้จึงขอเสนอวิธีเลิกสนใจคนประเภทนี้ด้วยการแนะนำวิธีออกห่างจากคนที่คิดลบเหล่านี้ วิธีคบหากับคนที่คิดบวกและคอยช่วยเหลือ ลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปฏิบัติดู เผื่อจะช่วยให้เรามีความสุขและความมั่นคงในชีวิตขึ้นมาบ้าง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ออกห่างจากคนพวกนี้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ง่ายที่สุดคือหลีกเลี่ยงไม่เผชิญหน้ากับบุคคลนั้น เราอาจลดโอกาสในการพบหน้ากันด้วยการหลีกเลี่ยงสถานที่ซึ่งเคยไปด้วยกันบ่อยๆ หรือสถานที่ซึ่งเรารู้ดีว่าจะต้องพบบุคคลนั้นบ่อยๆ
    • ลองกินอาหารร้านใหม่ๆ ซื้อเครื่องดื่มร้านใหม่ๆ และนั่งดื่มกาแฟร้านใหม่ๆ มองหาสถานที่ใหม่ๆ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ซึ่งคนคนนั้นจะไปสักหน่อย
    • พยายามไปเดินห้างสรรพสินค้าที่อยู่ไกลจากบ้านของคนคนนั้น (ถ้าเรารู้ว่าเขาอาศัยอยู่ที่ไหน)
    • ถ้าเราและคนคนนั้นมีเพื่อนร่วมกัน และเพื่อนคนนั้นชวนเราออกไปเที่ยวด้วยกัน ให้ถามเขาว่าคนคนนั้นจะไปด้วยหรือไม่ แล้วจากนั้นจึงค่อยตัดสินใจว่าจะไปหรือไม่ไป
  2. การตั้งขีดจำกัดในการติดต่อกับคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยนั้นเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงที่ดีวิธีหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องตัดพวกเขาออกไปจากชีวิตเรา ถ้าคนคนนั้นเป็นญาติเราหรือถ้าต้องอยู่ที่เดียวกันทุกวัน การตัดสัมพันธ์กันอาจเป็นเรื่องยาก แต่การตั้งขีดจำกัดในการปฏิสัมพันธ์จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงเขาได้ จึงทำให้เรารู้สึกดีขึ้น[1]
  3. 3
    พยายามพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับคนคนนั้นให้สั้นและน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้. อาจตอบกลับไปสั้นๆ โดยไม่แสดงอารมณ์ใดๆ และไม่ต้องขยายความสิ่งที่พูด ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า "โทษที ฉันขอตัวกลับไปทำงานก่อน"[2]
    • อย่าพูดอะไรที่เป็นการทำร้ายจิตใจ หรือทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ เพราะถ้าหากพูดออกไปแล้ว สิ่งต่างๆ ก็จะยิ่งแย่ลง
    • ถ้าเราจำกัดการติดต่อและหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยได้ ความสัมพันธ์ระหว่างเราและเขาก็จะจืดจางลงไปเองจนกระทั่งไม่มีการปฏิสัมพันธ์กันอีกในอนาคต
  4. ไม่ว่าจะทำงานด้วยกัน มีเพื่อนคนเดียวกัน หรือบังเอิญเจอกันเป็นบางครั้งบางคราว พยายามอย่าเข้าไปสนทนาด้วย เมื่อคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยนั้นพยายามดึงเราเข้าไปพูดคุยกับเขา เราอาจพยายามทำเป็นไม่สนใจเขา ถ้าคนคนนั้นพยายามเข้ามาพูดด้วย[3]
    • พยายามอย่าสบตาคนคนนั้น
    • พยายามอย่าสนใจสิ่งที่คนคนนั้นพูดและอย่าไปตอบโต้สิ่งที่เขาพูด
    • ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องพูดอะไรออกไปสักอย่าง พยายามแสดงความเห็นหรือความรู้สึกส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่บุคคลนั้นพูด
    • ไม่ว่าเราจะแสดงอาการเพิกเฉยอย่างเปิดเผย หรือพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจราวกับไม่ได้ยินหรือฟังคนคนนั้น เราก็ได้แสดงให้เขารู้แล้วว่าเรานั้นไม่สนใจสิ่งที่เขาพูดเลย
  5. หาใครสักคนไปเป็นเพื่อนถ้าจำเป็นต้องพูดคุยกับคนคนนั้นจริงๆ. ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบหน้ากันในที่ทำงานหรืองานสังคมได้ อาจขอให้เพื่อนคนหนึ่งไปกับเราด้วย เพื่อนคนนี้อาจช่วยกันไม่ให้เราต้องเผชิญหน้ากับคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยได้ เพื่อนจะช่วยให้การพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ กับคนคนนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นและชักนำการสนทนาไปสู่เรื่องที่สามารถพูดคุยกันได้ทั้งสองฝ่าย ถ้าคนคนนั้นพยายามเข้าเรื่องที่เราไม่อยากคุยด้วย
    • ให้เพื่อนของเรารู้ว่าตนเองต้องทำอะไรบ้าง เพื่อนคนนั้นต้องยินดีและเต็มใจที่จะช่วยเรา จะได้ไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเหมือนถูกหลอกใช้หรือสับสันงุนงงภายหลัง
    • อาจมีการส่งสัญญาณบางอย่างโดยไม่ใช้คำพูดเพื่อให้เราและเพื่อนรู้ว่าถึงเวลาขอด้วยออกจากการสนทนา ถ้าต้องการรีบจบการสนทนาจริงๆ
  6. ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบเจอกันได้ ให้พยายามสุภาพกับพวกเขาเป็นพิเศษเสมอ [4] บางครั้งความสุภาพก็สามารถช่วยลดการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีของผู้อื่นได้ [5]
    • พยายามอย่าแสดงกิริยาหยาบคายกับคนที่เราไม่ชอบ
    • จงเข้มแข็งและมั่นใจ นึกถึงคุณสมบัติที่ดีของตนเองเข้าไว้และพึงระลึกไว้ว่าเราเป็นคนที่สมควรได้รับความสุขบ้างเช่นกัน
    • อย่าปล่อยให้คนพวกนี้มาทำให้เรารู้สึกแย่ด้วยการเอาแต่พูดเรื่องไม่ดีใส่ จงปฏิเสธและอย่าไปรับฟัง
    • พูดแต่เรื่องดีๆ ถึงแม้จะรู้สึกอยากทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายก็ตาม จากนั้นจึงค่อยขอตัวออกมาจากการสนทนา ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า "เธอนำเสนอผลงานได้ยอดเยี่ยมมาก ฉันจะไปดื่มกาแฟสักหน่อย ขอตัวนะ"
  7. ถึงแม้พยายามหลีกเลี่ยงคนพวกนี้อยู่ แต่ก็ยังมีโอกาสพบเจอคนที่คิดไม่ดีและมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์อยู่ดี โดยปกติคนพวกนี้ (ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว) พยายามทำให้เราไม่สบายใจอยู่แล้ว พวกเขาอาจบอกว่าเราโง่ ถึงได้พลาดโอกาสดีๆ อยู่เสมอหรือพยายามทำให้เรารู้สึกหมดหวังและหมดกำลังใจที่จะทำให้ความฝันของตนเป็นจริง ถ้าได้ตัดสินใจที่จะไม่ข้องแวะด้วยแล้ว ก็จงพยายามเข้มแข็งไว้และอย่าปล่อยให้คนพวกนี้มายุ่งกับเราหรือเปลี่ยนแปลงตัวเราได้ [6]
    • ถึงแม้เราจะรู้สึกว่าตนเองนั้นอ่อนแอหรือด้อยกว่า แต่ก็จงเชื่อมั่นว่าเรานั้นสามารถเก่งและเข้มแข็งกว่านี้ได้ ความเชื่อมั่นนี้จะช่วยปกป้องเราไม่ให้คล้อยตามคนที่เอาแต่คิดและพูดอะไรในแง่ลบได้
    • อย่าปล่อยให้คำพูดและการกระทำที่ไม่ดีของผู้อื่นมามีผลกระทบต่อความรู้สึกหรือการดำรงชีวิตของเรา ใช้การยืนยันสิ่งดีๆ และการพูดกับตนเองเพื่อทำลายความคิดลบใดๆ ที่คนคนนั้นพยายามนำมาครอบงำเรา
    • เตือนตนเองว่าเราเป็นคนดี มีครอบครัวและมิตรสหายคอยใส่ใจห่วงใยเรา การเตือนตนเองแบบนี้จะทำให้เราเห็นว่าตนเองนั้นก็มีสิ่งดีๆ ที่คนคนนั้นไม่รู้อยู่
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ตัดช่องทางติดต่อสื่อสาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเราอยากตัดการติดต่อกับใครสักคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วย เราอาจใช้วิธีบล็อกเบอร์โทรหรือบล็อกข้อความจากคนคนนั้น เราอาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ก็ได้ ถ้าเราไม่ต้องติดต่อกับคนคนนั้นเป็นประจำ แต่ก็ไม่เสียหายอะไรถ้าจะเลือกบล็อกเบอร์โทรหรือบล็อกข้อความไว้
    • วิธีบล็อกเบอร์โทรสำหรับไอโฟน (iPhone) เลือกคนที่ต้องการบล็อกการโทรจากรายชื่อผู้ติดต่อและเลือก "Block This Caller" วิธีการบล็อกข้อความ ให้ไปที่ข้อความ เลือกคนที่อยากบล็อกและเลือก "Details" จากนั้น "Info" แล้วก็ "Block Contact"[7]
    • วิธีการบล็อกเบอร์โทรหรือข้อความของมือถือแอนดรอยด์ (Android) ไปที่ "Call Settings" และเลือก "Call Rejection" ซึ่งจะพาเราไปที่ "Auto Reject List" จากนั้นเราแค่ค้นหาและเลือกเบอร์ที่เราต้องการบล็อก
    • วิธีการบล็อกเบอร์โทรหรือข้อความของมือถือวินโดวส์โฟน (Windows phone) ไปที่ "Settings" และเลือก "Call + SMS Filter" จากนั้นเปิดสวิตช์ "Block Calls" จากนั้นกดเบอร์โทรศัพท์ที่เราต้องบล็อกค้างไว้ เลือก "Block Number" แล้วกด "OK"
    • ถ้าเป็นมือถือแบล็คเบอร์รี (BlackBerry) เราจะต้องพูดคุยกับผู้ให้บริการเพื่อบล็อกเบอร์โทรศัพท์ที่เราไม่ต้องการรับสาย
  2. ถึงแม้จะสามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าตัวต่อตัวได้สำเร็จ แต่คนคนนั้นอาจยังสามารถติดต่อเราผ่านทางสื่อสังคมได้อยู่ ถ้าเราเป็นเพื่อนหรือติดตามใครสักคนทางสื่อสังคม คนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยก็สามารถรู้ได้ว่าเรากำลังทำอะไร หรือไปที่ไหน ทำให้เขาอาจส่งข้อความข่มขู่หรือก่อกวนผ่านสื่อสังคมได้ด้วย[8]
    • ถ้าเป็นเพื่อนหรือติดตามคนคนนั้นในสื่อสังคม เราสามารถเลิกเป็นเพื่อนหรือเลิกติดตามเขาได้ เรายังสามารถบล็อกเขาได้ด้วยเพื่อไม่ให้เขาเห็นว่าเราโพสต์อะไรหรือติดต่อเราได้
    • ถ้าเราไม่ได้เป็นเพื่อนหรือติดตามคนคนนั้นทางสื่อสังคมแล้ว หรือถ้าเราได้ยกเลิกการเป็นเพื่อนกับเขาไปแล้ว ให้เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวภายในสื่อสังคมที่ใช้นั้น จะได้มีเพื่อนของเราเท่านั้นที่เห็นสิ่งที่เราโพสต์
  3. ถ้าคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยนั้นมีอีเมลแอดเดรสของเรา เราก็อาจเป็นฝ่ายที่ต้องกลัวเขาจะส่งอีเมลที่มีเนื้อหาคุกคามหรือหาเรื่องเรา เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ได้ด้วยการบล็อกอีเมลของคนคนนั้น หรือคัดข้อความที่ได้จากคนคนนั้นออกไป (ขึ้นอยู่กับเราใช้อีเมลอะไร)
    • วิธีคัดอีเมลออกในจีเมล (Gmail) ให้เลือกข้อความที่คนคนนั้นส่งมาในอินบ็อกซ์ของเราด้วยการติ๊กเครื่องหมายถูก คลิกเมนูที่ปรากฏขึ้นมา เลือก "More" จากนั้นก็ "Filter messages like these" และในหน้าใหม่เลือก "Delete it"[9]
    • วิธีบล็อกอีเมลในไมโครซอฟท์เอาท์ลุค (Microsoft Outlook) ให้คลิกขวาข้อความจากคนคนนั้น จากนั้นคลิก "Junk" ตามมาด้วย "Block Sender"[10]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

รักษาความสุขของตนเองเอาไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาจมีบางครั้งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงคนที่เอาแต่คิดอะไรในแง่ลบได้ ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ญาติ หรือเพื่อนบ้าน เราก็อาจพบเหตุที่ทำให้ต้องไปอยู่ใกล้ๆ (หรือแม้แต่พูดคุย) คนพวกนี้เป็นครั้งคราว เมื่อเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น เราต้องรู้ว่าอะไรทำให้เราไม่มีความสุขและพยายามป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้มาทำให้เราหดหู่[11]
    • เขียนว่ามีใคร สถานที่ และสิ่งใดบ้างที่ทำให้เรารู้สึกไม่มีความสุข โกรธ หรือท้อแท้
    • ลองใคร่ครวญสิว่าทำไมผู้คน สถานที่ และสิ่งเหล่านั้นทำให้เรารู้สึกไม่ดี
    • ลองคิดสิว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไร และหาวิธีการที่จะช่วยเราหลีกเลี่ยงหรือลดการต้องมาอยู่ในสถานการณ์ที่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่
  2. ถึงแม้ว่ารู้สึกอยากระบายสิ่งที่อัดอั้นตันใจ แต่การทำแบบนี้อาจทำให้หมางใจกับผู้อื่นได้ คนที่เราไประบายทุกข์ให้ฟังอาจเป็นเพื่อนของคนที่เราไม่ชอบ หรือเขาอาจเบื่อที่เราเอาแต่พูดเรื่องไม่ดีของคนอื่น ถ้าเอาแต่บ่นว่าใครสักคนอยู่เรื่อย เพื่อนและเพื่อนร่วมงานอาจเริ่มอยากตีตัวออกห่างจากเรา [12]
    • แทนที่จะบ่นเรื่องคนคนนั้นให้ผู้อื่นฟัง เลือกไม่พูดถึงเสียเลยจะดีกว่า
    • พูดคุยกับผู้อื่นในเรื่องดีๆ ที่ทำให้เรามีความสุข ไม่อย่างนั้นเราจะเสียแรงและเวลาไปมากกับการบ่นเรื่องของคนเราที่ไม่ชอบ
  3. เมื่อเราโทษคนอื่นด้วยการใช้วาจาและการกระทำที่ไม่ดี สิ่งเหล่านั้นจะทำให้เขาอยู่เหนือกว่าเราและเราก็จะเริ่มสูญเสียการควบคุมตนเองไปทีละนิด ไม่ว่าใครสักคนจะทำให้เราขุ่นเคืองใจแค่ไหน เราเท่านั้นที่จะเป็นคนตัดสินใจว่าจะจมอยู่กับความโกรธและความแค้นอยู่อย่างนั้นหรือปล่อยมันไป ถึงแม้จะพูดหรือทำอะไรไม่ดีลงไปเพราะความโกรธ แต่คำพูดและการกระทำของเรานั้นก็ยังคงเป็นสิ่งที่เราเลือกเอง ฉะนั้นเราจึงต้องรับผิดชอบด้วย[13]
    • คำพูดและการกระทำของเราจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรา เราไม่สามารถโทษคนอื่นได้ เมื่อเราเป็นคนเลือกที่จะพูดหรือทำอะไรบางอย่างไปแล้ว ถึงแม้จะพูดหรือทำไปเพราะโกรธใครบางคนก็ตาม
    • พยายามเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดที่มีต่อบุคคลนั้น เพราะสิ่งที่เราคิดอยู่มีอิทธิต่อคำพูดและการกระทำของเรา ฉะนั้นการระวังและยับยั้งความคิดที่ไม่ดีช่วยป้องกันเราไม่ให้พูดหรือทำอะไรที่ไม่สมควร
    • พอสามารถเพิกเฉยคนที่ชอบทำร้ายจิตใจเราได้แล้ว ก็ปล่อยให้คนคนนั้นไปซะ หยุดเสียเวลาและเสียแรงคิดถึงคำพูดและการกระทำของเขาเสียที ยับยั้งใจตนเองไว้ เมื่อไรก็ตามที่นึกถึงความร้ายกาจของเขาขึ้นมา
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

คบหาคนที่คิดบวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนที่คิดบวกมักจะดึงดูดคนที่คิดบวกด้วยกัน ถ้าเราอยากให้คนที่คิดบวกอยากคบหาเราเป็นเพื่อน เราก็ควรเป็นคนที่คิดบวกเช่นเดียวกันด้วย เราจะสามารถคิดบวกได้เองหลังจากที่เราได้นึกถึงและเห็นข้อดีอันน่าพึงปรารถนาของตนแล้ว [14]
    • ลองคิดสิว่าเรามีข้อดีอะไรบ้าง เรามักชื่นชมคนอื่นหรือชอบช่วยเหลือผู้อื่นหรือเปล่า
    • พยายามตั้งใจนึกถึงและเห็นข้อดีของตนเองบ่อยๆ ข้อดีนี้ไม่ใช่แค่ข้อดีที่ผู้อื่นเห็นเท่านั้น แต่เป็นข้อดีที่เราเองก็เห็นด้วยเพื่อจะได้พัฒนาตนเองให้กลายเป็นคนที่คิดบวกในที่สุด
    • ให้การกระทำของเราแสดงให้เห็นว่าเรานั้นเป็นคนอย่างไรและมีชีวิตแบบไหน
  2. รู้ว่ายังมีคนที่รักและเป็นห่วงเราอยู่ข้างๆ เสมอ. เรานั้นมีคนที่รักและหวังดีต่อเราอยู่แล้ว เมื่อเราออกห่างจากคนที่เราไม่ต้องการข้องแวะได้แล้ว ให้เราพยายามพบปะพูดคุยกับคนที่เราต้องการให้เขาอยู่เคียงข้าง การรักษาความสัมพันธ์กับคนที่เขาห่วงใย ใส่ใจ และดูแลเราให้แน่นแฟ้นไว้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะพวกเขาเหล่านั้นเป็นเพื่อนที่ดีและสามารถช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเองให้ดีขึ้นได้ [15]
    • นึกถึงเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานที่มักจะคิดอะไรดีๆ อยู่เสมอแม้ในยามที่ประสบกับความยากลำบาก อย่าลืมนึกถึงคนที่ใจดี เห็นแก่ผู้อื่น และมีเมตตาที่สุดในชีวิตของเราด้วย
    • พบปะพูดคุยกับบุคคลเหล่านั้น พยายามหาเวลาพบปะพูดคุยกัน และพยายามชวนพวกเขามาทำกิจกรรมร่วมกันกับเราบ่อยๆ จะได้มีโอกาสใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น
  3. พบปะและทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ที่มีแนวคิดดีๆ. นอกจากหมั่นพบปะพูดคุยกับคนที่คอยห่วงใยใส่ใจเราแล้ว เราควรหาโอกาสพบปะและทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่มีแนวคิดดีๆ การทำความรู้จักเพื่อนใหม่แบบนี้จะช่วยให้เราวงสังคมของเราเต็มไปด้วยผู้คนที่เราเคารพนับถือและอยากอยู่ใกล้ การมีวงสังคมแบบนี้จะช่วยพัฒนาตัวเราให้ดีขึ้นและทำให้เรากลายเป็นมิตรสหายที่น่าคบหาของผู้อื่น[16]
    • อาจหาเพื่อนใหม่ด้วยการเข้ายิม เข้ากลุ่มคนที่มีความศรัทธาเดียวกัน เข้าชมรมต่างๆ (เช่น ชมรมปีนเขา เป็นต้น) และเข้าไปในสถานที่ซึ่งมีโอกาสพบเจอผู้คนที่มีแนวคิดดีๆ
    • ลองไปเป็นอาสาสมัคร เราจะรู้สึกดีทีเดียวที่ได้มาเป็นอาสาสมัครและเราจะได้พบผู้คนอื่นที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน (ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนมีเมตตาและคิดบวก)
    • ถึงแม้จะแค่ได้นั่งดื่มกาแฟหรือกินข้าวด้วยกันช่วงสั้นๆ แต่เราก็จะอารมณ์ดีขึ้นและได้ปรับมุมมองของตนเองใหม่
    • เป็นฝ่ายเข้าหา ถ้าผู้คนเหล่านี้มีภารกิจที่ต้องทำมากมาย จงเป็นฝ่ายเข้าไปพูดคุยเพื่อนัดหมายหาวันที่ทั้งสองฝ่ายสะดวกที่จะพบปะพูดคุยกัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าบังเอิญพบคนที่เราไม่อยากเข้าไปข้องแวะด้วย ให้ทำเป็นไม่เห็นไปเสีย ปรับเปลี่ยนความเร็วในการก้าวเดิน อยู่นิ่งๆ หรือหันไปทางอื่น ถ้าคนคนนั้นต้องการจะพูดคุยกับเรา ให้บอกเขาไปว่าเรากำลังรีบและต้องไปแล้ว ถ้าไม่สามารถทำอะไรได้เลย ก็ให้ฟังที่เขาพูดไปอย่างเงียบๆ
  • ถึงแม้คนคนนั้นเป็นญาติของเรา ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะยอมให้เขาทำพฤติกรรมที่ไม่ดีใส่เรา ถ้ามีใครทำให้เรารู้สึกแย่หรือเจ็บช้ำน้ำใจ เรามีสิทธิที่จะตัดสัมพันธ์กับเขาอย่างนิ่มนวลและค่อยเป็นค่อยไปได้
  • อย่าทำกิริยาหยาบคายหรือพูดจาไม่ดีใส่คนคนนั้น การทำแบบนี้ไม่ช่วยแก้ปัญหาที่เขาได้ทำกับเราไว้หรอก อีกทั้งยังทำให้เราดูเป็นคนไม่ดีอีกด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าตัดสินใจแล้วว่าจะไม่ใส่ใจใครสักคนอีกแล้ว เราก็ต้องทำใจแล้วว่าเราและเขาอาจไม่มีทางพูดคุยกันอีกและต้องยอมรับกับสภาพที่เกิดขึ้นนี้
  • บางครั้งเราอาจตัดสินใจกลับไปพูดคุยกับคนคนนั้นเหมือนเดิมเพราะต้องการยุติการทะเลาะเบาะแว้ง แต่พึงระลึกไว้ว่าอาจไม่สามารถกลับไปคุยกันได้หรือควรกลับไปคุยกันเสมอไป แต่ถ้าคนคนนั้นเป็นคนที่เราต้องพบอยู่เป็นประจำ (เช่น ญาติ หรือเพื่อนร่วมงาน) ก็อาจจำเป็นต้องทำ
  • ถ้าบุคคลนั้นเป็นพวกชอบใช้ความรุนแรง การเพิกเฉยคนแบบนั้นจะเป็นการยั่วให้เขาโกรธและทำให้สถานการณ์แย่ลง ฉะนั้นขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญและรีบออกห่างจากดีกว่า!


โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits
รู้ว่าเมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว รู้ว่าเมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว
รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า
ทำให้แฟนเก่ากลับมารักคุณอีกครั้ง ทำให้แฟนเก่ากลับมารักคุณอีกครั้ง
ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด
เลิกชอบเพื่อนรัก เลิกชอบเพื่อนรัก
พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา
ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม
จบความสัมพันธ์ จบความสัมพันธ์
ปลอบโยนแฟนสาวของคุณเมื่อเธอรู้สึกแย่ ปลอบโยนแฟนสาวของคุณเมื่อเธอรู้สึกแย่
ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่ ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่
เรียกความเชื่อใจจากเขาหรือเธอกลับมา เรียกความเชื่อใจจากเขาหรือเธอกลับมา
ลืมคนที่ชอบ ลืมคนที่ชอบ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

Tasha Rube, LMSW
ร่วมเขียน โดย:
นักสังคมสงเคราะห์มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Tasha Rube, LMSW. ทาช่า รูบเป็นนักสังคมสงเคราะห์มีใบอนุญาตในมิสซูรี่ เธอสำเร็จปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ในปี 2014 บทความนี้ถูกเข้าชม 15,911 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,911 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา