The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20060117111547/http://www.rta.mi.th:80/21100u/pr48/pr48his.htm

ประวัติความเป็นมา การจัดหน่วย
สวนสนาม
รายนาม ผบ.หน่วย
สวนสนาม
กำหนดการ พระบรม
ราโชวาท
ธงชัยราชกระบี่ยุทธ์
ธงชัยพระครุฑพ่าห์
การยิงสลุต ประมวลภาพ
สวนสนาม

 

ประวัติความเป็นมา

          ความเป็นมาของพิธีนี้ แต่เดิมนั้น การสวนสนามของพิธีนี้ไม่ได้กระทำกันเป็นประจำทุกปี  แต่จะกระทำกันเป็นครั้งคราวแล้วแต่ที่กองทัพบกหรือว่ากระทรวงกลาโหมจะสั่งหรือกำหนด แต่การเริ่มสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ นี้ได้เริ่มครั้งแรกในสมัย จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม กระทำเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ
          ซึ่งในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้พระราชทานธงชัยเฉลิมพล ซึ่งเป็นธงช้างเผือก เพื่อให้ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ใช้แทนธงชัยเฉลิมพลที่มีอยู่ เนื่องจากว่ากิจการของทหารมหาดเล็กนั้นจะต้องเข้าเฝ้ารับเสด็จ ฯ และถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประจำ และในการพระราชทานธงชัยเฉลิมพลครั้งนั้น บรรดาทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ มีความป
าบปลื้ม และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างมาก
          จึงได้จัดพิธีสวนสนามถวายแด่พระองค์ท่านเป็นการตอบแทน และในการสวนสนามครั้งนี้ก็มีเฉพาะเพียงบรรดา เหล่าทหารมหาดเล็ก ซึ่งสังกัด กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ เท่านั้น และได้กระทำในวันที่ 11พฤศจิกายน 2496 ซึ่งในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ แต่การสวนสนามในครั้งนั้นไม่ใช่เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เป็นการสวนสนามถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องจากพระองค์ท่านได้พระราชทานธงชัยเฉลิมพลให้กับหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว สำหรับผู้บังคับขบวนสวนสนามในขณะนั้นก็คือท่านผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ คือ พันเอก กฤษณ์ สีวะรา ยศขณะนั้นและการสวนสนามในครั้งนั้น เป็นการสวนสนามเพียงครั้งเดียวแล้วก็ว่างเว้นการสวนสนามมา
          จนกระทั่งมาถึงสมัยของ ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้กำหนดให้มีการถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จนิวัตรพระนครหลังการเสด็จเยือนยุโรป และสหรัฐอเมริกา จึงได้จัดให้มีพิธีสวนสนามของบรรดาทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ เนื่องในวันพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
ทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ที่ร่วมในพิธีครั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะทหารรักษาพระองค์ สำหรับพิธีในครั้งนั้นกระทำเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2504 ทหารทั้ง 3 เหล่าทัพจะแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายของแต่ละเหล่าทัพ ยังไม่ได้แต่งเครื่องแบบเต็มยศ และในปีเดียวกันนั้นเมื่อเดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช 2504 ตรงกับวันที่ 5 ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็มีบัญชาให้ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของบรรดาทหารรักษาพระองค์
          ซึ่งการสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ในครั้งแรกนี้ ได้ใช้หน่วยทหารรักษาพระองค์ ซึ่งอยู่ใน กรุงเทพมหานครเข้าดำเนินการสวนสนาม มีทั้งหมด 8 กองพัน จัดเป็น 2 กรมสวนสนาม
          ในกรมสวนสนามที่ 1 นั้น ประกอบด้วย
กองพันจากกรมนนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และอีก 3 กองพัน จาก กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ รวมเป็น 4 กองพัน
          สำหรับกรมสวนสนามที่ 2 จัดจาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ 1 กองพัน จัดจากกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ 1 กองพัน (สำหรับกองพันทหารม้าในสมัยนั้น ยังไม่ได้ใช้ม้าร่วมในพิธีแต่ใช้ทหารม้าลงเดินเท้า) จัดจากกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ 1 กองพันและจากกองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ 1 กองพัน รวมเป็น 4 กองพัน
          ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2504 เป็นต้นมา ก็ได้มีการจัดถวายพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นประจำทุกปี แต่เนื่องจากพระราชกรณียกิจของ พระบาทสนเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้นพระองค์ท่านมีมากในห้วงระยะเวลาระหว่าง วันที่ 4-5-6 จึงได้ทำความกราบบังคมทูล เพื่อขอพระราชทานกำหนดวันสวนสนามที่แน่นอน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้กรุณาโปรดเกล้าพระราชทานให้เป็นวันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งก็ได้ถือวันที่ 3 ธันวาคมนี้ จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนของบรรดาเหล่าทหารรักษาพระองค์ มาตลอดจนกระทั่งถึง ปี 2525 จึงได้มีหน่วยทหารรักษาพระองค์ในต่างจังหวัดมาร่วมพิธีด้วย รวมทั้งเหล่าทัพอื่น ก็ได้จัดกำลังร่วมพิธีในปีเดียวกัน คือมีทั้งทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ จึงได้กำหนดให้มีการจัดหน่วยเข้าร่วมสวนสนามเพิ่มขึ้นเป็น 12 กองพัน ซึ่งจากเดิมจัด 8 กองพัน ในครั้งเริ่มแรก การจัดหน่วยสวนสนามในครั้ง
          ต่อมาได้แบ่งออกเป็น 4 กรม กรมละ 3 กองพัน
ต่อมาในปี 2530 ก็ได้นำเอาม้ามาร่วมในพิธีสวนสนามด้วย โดยทหารม้าได้ขี่มาจริง ๆ
          ทั้ง นี้จากเดิมจัด 12 กองพัน จึงได้กลายมาเป็น 13 กองพัน แต่ยังคงแบ่งเป็น 4 กรมเช่นเดิม คือ กรมละ 3 กองพัน ส่วนกองพันทหารม้านั้นจะเป็นกองพันสุดท้ายที่ปิดท้ายขบวน